@tinnakorn

Food Additive (วัตถุเจือปนอาหาร)-การใช้งานและกฏหมายขึ้นทะเบียน อย

หน้าแรก / บทความ / Food Additive (วัตถุเจือปนอาหาร)-การใช้งานและกฏหมายขึ้นทะเบียน อย

food additive
food additive

  บทความนี้ต้องการให้ข้อมูลและแก้ปัญหาให้กับผู้อ่านทั้งมือใหม่จนถึงนักวิทยาศาตร์ด้านอาหาร (Food Scientist) สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องวิทยาศาตร์อาหารเราจะปูพื้นให้เข้าใจเรื่องของ Food additive (วัตถุเจือปนอาหาร) ในแง่มุมต่างๆ และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพอาหารของตนเอง อย่างปลอดภัย และดีต่อผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตหรือแม่ครัวพ่อครัวใช้กันอย่างที่ไม่มีความเข้าใจซึ่งอาจทำให้อาจจะเกิดผลเสียได้

  สำหรับผู้อ่านที่มีความรู้ดีอยู่แล้ว เช่นนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เราได้รวบรวมกฏหมายต่างๆที่เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารและการขึ้นทะเบียน อย. ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย


สารบัญ

มารู้จัก Food Additive (วัตถุเจือปนอาหาร)

  วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) คือ วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ มาตรฐาน หรือลักษณะของอาหาร

  ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมกับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น โดยไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน


ประโยชน์ในการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)

  การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้วัตถุเจือปนอาหาร(Food Additive)  เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้

  • เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารให้มีความคงตัว
  • เพื่อให้ได้ส่วนประกอบของอาหารเฉพาะในการผลิตอาหาร สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการทางโภชนาการเฉพาะ
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคุณภาพในอุตสาหกรรมในการผลิตในปริมาณมาก หรือปรับปรุงคุณลักษณะด้านประสาทสัมผัส โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณภาพและลักษณะของอาหาร
  • เพื่อช่วยในการผลิต การแปรรูป การปฎิบัติ การบรรจุ การขนส่ง หรือการเก็บรักษาอาหาร โดยต้องไม่ใช้วัตถุเจือปนอาหาร(Food Additive) ในการปกปิดความบกพร่องของอาหารหรือกรรมวิธีการผลิตที่ไม่เหมาะสม

  ในการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ในแต่ละประเภทอาหารต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

  วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ที่ใช้ต้องมีการประเมินด้านความปลอดภัยโดย JECFA หรือผ่านการประเมินที่มีความเทียบเท่ากับ JECFA เพื่อกำหนดค่าความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake: ADI) คือปริมาณของวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)ที่แสดงในรูปของมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน โดยบริโภคได้ทุกวันตลอดชีวิตโดยไม่เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ


การแบ่งกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร

โคเด็กซ์ (Codex) ได้จัดแบ่งกลุ่มวัตถุเจือปนอาหารตามหน้าที่  ออกเป็น 27 กลุ่ม ดังนี้ คือ

  1. สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
  2. สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (Anticaking)
  3. สารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoaming agent)
  4. สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxdant)
  5. สารฟอกสี (Bleaching agent)
  6. สารเพิ่มปริมาณ (Bulking agent)
  7. สารให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbonating agent)
  8. สารช่วยทำละลายหรือช่วยพา (Carrier)
  9. สี (Colour)
  10. สารคงสภาพของสี (Colour retention agent)
  11. อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
  12. เกลืออิมัลซิไฟอิ้งค์ (Emulsifying agent)
  13. สารทำให้แน่น (Firming agent)
  14. สารเพิ่มรสชาติ (Flavour enhancer)
  15. สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
  16. สารทำให้เกิดฟอง (Foaming agent)
  17. สารทำให้เกิดเจล (Gelling agent)
  18. สารเคลือบผิว (Glazing agent)
  19. สารทำให้เกิดความชุ่มชื้น (Humectant)
  20. ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (Packaging gas)
  21. สารกันเสีย (Preservative)
  22. ก๊าซที่ใช้ขับดัน (Propellant)
  23. สารช่วยให้ฟู (Raising agent)
  24. สารช่วยจับอนุมูลอิสระ (Sequestrant)
  25. สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
  26. สารให้ความหวาน (Sweetener)
  27. สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)  

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหาร


  1. Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA)

เป็นหน่วยงานรวมกันระหว่าง FAO ของ UN และ WHO ซึ่งทาง อย. ของเราให้การเชื่อถือและอ้างอิงมาตรฐานต่างๆ มีการกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานและค่าความปลอดภัยไว้ในมาตรฐานสากล (JECFA specification หรือ Codex Advisory Specification for the identity and Purity of food Additives) ของวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) แต่ละตัว

  ตามลิงค์: http://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/codex-texts/dbs/gsfa/en/


  2. European Food Safety Authority (EFSA)

เป็นหน่วยงานกลางของ EU ที่ออกกฏเกณฑ์และการควบคุมสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหารคนและอาหารสัตว์ ซึ่งรวมถึงการใช้วัตถุเจือปนอาหารด้วย ทั้งนี้ EFSA เป็นคนที่กำหนด E-number


  3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า อย. เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ควบคุมการผลิต การนำเข้า การแจกจ่าย และออกกฏเกณฑ์เกี่ยวกับ อาหาร ยา วัตถุเสพติด เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ สมุนไพร

  ตามลิงค์: http://food.fda.moph.go.th/law/TH/pages/foodad.html


กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเจือปนอาหาร

1. คุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหาร

วัตถุเจือปนอาหารที่จะนำมาใช้ในอาหารได้นั้น จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานซึ่งแจ้งไว้ในประกาศต่างๆ ดังนี้

  1.1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00147362.PDF

  1.2 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารเล่ม 1

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/food_additives_V1.pdf

  1.3 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารเล่ม 2

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/food_additives_V2.pdf

  1.4 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (11 ชนิด)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00169847.PDF

  1.5 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (ฉบับที่ 2) (2 ชนิด)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00174680.PDF

  1.6 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (ฉบับที่ 3) (1 ชนิด)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/105/47.PDF

  1.7 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (ฉบับที่ 4) (2 ชนิด)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/103/31.PDF

  1.8 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารลักษณะผสม

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00153092.PDF

  1.9 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารประเภทวัตถุที่ใช้รักษาคุณภาพหรือมาตรฐานอาหาร​

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00167973.PDF

  1.10 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานสำหรับยีสต์สดจากยีสต์แซ็กคาโรโมซีส เซรีวิซิอี 

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/yeast.pdf

  1.11(1) ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานสำหรับสารสกัดให้สีจากส่วนของพืชหรือสัตว์

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/Extract-from-the-Plant-or-Animal.pdf

    (2) บัญชีรายชื่อพืชหรือสัตว์ที่อนุญาตให้นำมาใช้ทำสารสกัดให้สีจากส่วนของพืชหรือสัตว์

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/ListOfPlants.pdf

  1.12 ​ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตาม Codex Advisory Specification for the Identity and Purity of Food Additives

    ตามลิงค์ : http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/

  1.13 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานสำหรับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร    

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/61_microorganism.pdf

  1.14 ข้อกำหนดคุณภาพมาตรฐานของเอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร (ข้อ 4 ในประกาศฯ)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/203/T_0017.PDF

  1.15 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง เพิ่มเติมคุณภาพมาตรฐานของเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/080/T_0057.PDF

   1.16 ข้อกำหนดคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับอาหาร (ข้อ 4 และ 5 ใน
ประกาศฯ)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/278/T_0034.PDF


2. เงื่อนไขการใช้ (กำหนดชนิดอาหารและปริมาณการใช้)

เมื่อวัตถุเจือปนได้การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน ตามที่ อย กำหนดแล้ว ผู้ผลิตจะต้องตรวจสอบปริมาณการใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฏหมาย โดยปริมาณการใช้จะแตกต่างในอาหารแต่ละประเภท

  2.1 ​ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) (ยกเลิกบัญชีแนบท้าย)

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/P381_cut.pdf

  2.2 ​ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 379) พ.ศ. 2559 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 359) พ.ศ. 2556 เรื่อง ซัยคลาเมต, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 380) พ.ศ. 2559 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2556 เรื่อง สตีวิออลไกลโคไซด์ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/379_380_381.pdf

  2.3 ​ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (เลขที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)

    ตามลิงค์ : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P389.pdf

  2.4 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (เลขที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/P389.pdf

  2.5 เงื่อนไขการใช้ที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  บัญชีข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติการใช้เพิ่มเติม 

    ตามลิงค์ :  http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/FoodAdditivesAccount.pdf


3. การแสดงฉลาก

ทาง อย มีการกำหนดข้อความและฉลากที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและไม่บิดเบือน ป้องการการกล่าวอ้างเกินจริง

  3.1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 363 พ.ศ. 2556 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)

    ตามลิงค์ : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P363.pdf

  3.2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 372) พ.ศ.2558 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 3)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/321/14.PDF

  3.3 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ยกเลิกบัญชีแนบท้าย)

    หมายเหตุ : ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร

    ตามลิงค์ : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P367.PDF

  3.4 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2)

    ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/097/24.PDF


4. วิธีวิเคราะห์

  4.1 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ วัตถุเจือปนอาหารที่แตกต่างไปจากข้อกำหนดในโคเด็กซ์

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/FA_Codex.pdf


5. แนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  5.1 ข้อกำหนดการใช้วัตถุที่ห้ามใช้และอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/no-requirements.pdf

  5.2 หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติกรณีที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารอื่นเพื่อรักษาคุณภาพของวัตถุเจือปนอาหาร วัตถุแต่งกลิ่นรส หรือสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ (Food additives in Food additives/Food Flavourings Agents/Nutrients)

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/foodAd_foodAd.pdf

  5.3 หลักเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยสำหรับวัตถุเจือปนอาหารตามแนวปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยสารเคมีของโคเด็กซ์ (Environmental Health Criteria 240 Principles and Methods for the Risk Assessment of Chemicals in Food)

    ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/EHC240.pdf


อันตรายจากการใช้วัตถุเจือปนอาหารไม่ถูกต้อง

ในหมวดนี้จะกล่าวถึงวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ แต่มักมีการใส่ในปริมาณที่มากเกินไป หรือในอาหารที่ไม่ควรใส่ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ต้องพิจารณาวัยของผู้บริโภคประกอบด้วย

แบ่งอันตรายจากการใช้วัตถุเจือปนอาหารเป็น 2 ประเภท ดังนี้


1. พิษเฉียบพลัน

  • ไนไตรต์ (Nitrite) คือวัตถุเจือปนอาหาร(Food Additive)ที่นิยมใช้ในรูปของเกลือโซเดียมไนไตรต์ และโพแทสเซียมไนไตรต์ โดยไนไตรต์จะถูกรีดิวส์มาจากเกลือไนเทรต (nitrate, NO3) เช่น เกลือโซเดียมไนเทรต และโพแทสเซียมไนเทรต (ดินประสิว)
    จากการบริโภคไนไตรต์ส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์เมทฮีโมโกลบินีเมีย (methaemoglobinemia) หรืออุบัติการณ์อาหารเป็นพิษ ที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนจำนวน 6 ราย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริโภคไส้กรอกไก่ที่มีไนไตรต์ (Nitrite) มากกว่า 3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการหน้าซีด ปากซีดเขียว ปลายมือปลายเท้าเขียว  อ่อนแรง  หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจำนวน 24 ราย ในจังหวัดเชียงราย บริโภคไก่ทอดที่มีการใช้ไนไตรต์ในการหมัก ส่งผลให้เกิดอาการเดียวกัน นอกจากนั้นไนไตรต์ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง โดยเป็นผลมาจากการที่ไนไตร์ตไปทำปฏิกิริยากับ Secondary amines ในสภาวะที่เป็นกรด ทำให้เกิดสารกลุ่มไนโตรซามีน เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ ตับอ่อน และทางเดินหายใจ
  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) คือออกไซด์ของกำมะถัน เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ไวไฟ เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศจะเกิดเป็นซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ และเมื่อรวมตัวกับน้ำ ทำให้เกิดเป็นกรดซัลฟิวริก (H2SO4) หรือกรดกำมะถัน
    จากที่สถาบันอาหารทำการสุ่มตัวอย่างทุเรียนกวนจากหลากหลายร้านค้า พบว่ามีการตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 381 พ.ศ.2559 ที่มีการอนุญาตให้ใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณไม่เกิน 100 mg/kg หากร่างกายได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณที่พอเหมาะหรือไม่มากจนเกินไป ซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะถูกออกซิไดซ์เป็นซัลเฟต แล้วถูกขับออกทางปัสสาวะได้ทั้งหมด แต่หากได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปจะทำให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่สามารถถูกออกซิไดซ์ไปจนหมด และจะส่งผลให้ไปลดประสิทธิภาพในการใช้ไขมันและการใช้โปรตีนในร่างกาย หากได้รับในปริมาณมากและมีการสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หมดสติ และหากเกิดขึ้นกับบุคคลที่เป็นโรคหืด จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นและทำให้หลอดลมตีบได้
  • กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) คือวัตถุเจือปนอาหารที่นิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย เป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ลูกพรุน อบเชย แอปเปิ้ล กานพลู และมะกอกสุก  โดยมีจำหน่ายในท้องตลาดในรูปผงผลึกสีขาวหรือเป็นเกล็ด มักใช้ร่วมกับกรดซอร์บิก และพาราเบนส์สำหรับเป็นวัตถุกันเสีย และจากเหตุการณ์ที่มีผู้ประกอบการผลิตเส้นขนมจีนและเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูด ประเภทกรดเบนโซอิกมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทางกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสียชนิดนี้ในอาหารไม่เกิน 1000 mg/kg ซึ่งการใช้ในปริมาณที่พอเหมาะร่างกายจะสามารถขับออกไปจนหมดได้ แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินกว่ากฎหมายอนุญาต อาจทำให้ร่างกายได้รับกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมากเกินไป และก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียได้
  • โซเดียมไฮโปซัลไฟต์ (Sodium Hyposulfite) คือวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้สำหรับการฟอกสีเพื่อทำให้อาหารดูน่ารับประทาน มักใช้ในอาหารหลากหลายประเภทเช่น ขิงซอย ถั่วงอก อาหารทะเลแห้งประเภทปลาหมึกตากแห้ง สารชนิดนี้เป็นสารเคมีที่เป็นพิษห้ามใช้ในการปรุงรสอาหารหรือใส่ในอาหาร เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ เกิดอาการอาหารเป็นพิษ หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ วิงเวียน เหนื่อยอ่อน ความดันโลหิตจะลดต่ำลง แต่หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากก็อาจทำให้ถ่ายเป็นเลือด ชัก ช็อค หมดสติ  หายใจไม่ออก ไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด 
  • โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite) คือวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้กันมานาน ใช้เพื่อเป็นวัตถุกันเสีย จากบางสถานการณ์ที่มีการใช้สารนี้ในปริมาณที่มากเกินกำหนด ทำให้สารกำมะถันตกค้างอยู่ในปริมาณที่สูง ส่งผลให้เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคหอบหืด อ่อนเพลีย และบุคคลที่ออกกำลังมาก

2. พิษเรื้อรัง

  • สารส้ม (Alumen) หรือ “สารที่ทำให้หดตัว (astringent)” คือเกลือเชิงซ้อนของสารประกอบที่มีธาตุอะลูมิเนียม และซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก โดยทั่วไปมักใช้ในการช่วยทำให้เกิดการตกตะกอนทำให้น้ำใส แต่หากนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อทำให้อาหารหรือผักดองมีความกรอบ เมื่อมีการรับประทานหรือมีการสูดฝุ่นสารส้มเข้าไป จนได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ซึมและหากได้รับในปริมาณที่สูงมากอาจทำให้มีผลต่อสมองทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้
  • ขัณฑสกร (Saccharin) คือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มาจากการสังเคราะห์ อาจเรียกได้ว่าน้ำตาลเทียม และเนื่องด้วยคุณสมบัติที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300-700 เท่า และมีราคาถูก ให้รสหวานจัด ติดลิ้น และไม่ให้พลังงาน ขัณฑสกรเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารควบคุมน้ำหนัก รวมถึงในหมู่พ่อค้าแม่ค้าที่อยากลดต้นทุน ขันฑสกรถูกห้ามใช้ในหลายๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากการทดลองพบว่าทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้
  • กรดซาลิซิลิค (Salicylic acid) คือกรดอินทรีย์ ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่ละลายในน้ำ ละลายได้ในแอลกอฮอล์ สามารถสร้างได้จากพืชและการสังเคราะห์ทางเคมี โดยมีชื่อทางเคมีว่า ออร์โทไฮดรอกซีเบนโซอิกแอซิด (Ortho Hydroxybenzoic acid) หรือ เบตาไฮดรอกซีเบนโซอิกแอซิด (Beta Hydroxybenzoic acid: BHA)  โดยกรดซาลิซิลิคมีประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทางอุตสาหกรรม เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางเพื่อให้ผิวดูกระจ่างใส หรือใช้ทางการแพทย์เพื่อลอกผิวหนัง รักษาโรคหูด แต่ได้มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร นำมาใช้เป็นสารกันบูดในอาหาร ถือว่าเป็นการใช้ที่ผิดประเภท และก่อให้เกิดอันตรายคือทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • อัลลูร่า เรด (Allura red) คือสีสังเคราะห์ให้สีส้มถึงแดง ส่วนใหญ่ทำจากปิโตรเลียม ละลายในน้ำ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อาหารหวาน เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส ตลอดจนใช้ในเครื่องสำอาง จากผลการวิจัยของประเทศอังกฤษที่กล่าวไว้ว่า  ขนมเยลลี่ใส่สีอัลลูร่า เรด (Allura red) ซึ่งถือเป็นสีผสมอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อเด็ก คือทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือที่เรียกว่า Hyperactiveโดยข้อกำหนดตามสำนักงานมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านอาหารหรือ Codex ภายใต้องค์การอาหารและเกษตรแห่งองค์การประชาติ (FAO) มีระดับการยอมรับปริมาณของ Allura red ต่อวันสำหรับเยลลี่คือ 50mg/kg (ppm)

ที่มาจากเว็บไซต์ : http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=326


สารที่ห้ามใช้ในการเป็นวัตถุเจือปนอาหาร

สารในหมวดนี้เป็นสารเคมี ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร มีอันตรายเป็นที่ประจัก แต่ในอดีตอาจจะมีการใช้ในอาหาร ทำให้ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด

  • สารบอแรกซ์ (Borax) คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า โซเดียมโบเรท (Sodium Borate) หรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่า ผงกรอบหรือน้ำประสานทอง บอแรกซ์มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ โดยปกติแล้วบอแรกซ์จะใช้ในอุตสาหกรรมในการทำแก้วทนร้อน ใช้เพื่อเชื่อมทอง และเป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว
    แต่ในปัจจุบันมักถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด มักนำไปใช้เจือปนในอาหารต่างๆ เพื่อสร้างความกรอบและความเหนียวนุ่ม การใช้สารบอแรกซ์มักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ผลไม้แช่อิ่มหรือผักดอง โดยจริงๆแล้วบอแรกซ์เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร และมีพิษเป็นอันตรายเนื่องจากก่อให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับ อาจทำให้การทำงานของไตล้มเหลว ปัสสาวะไม่ออก ทำให้เกิดอาการเป็นพิษและตายได้ในที่สุด โดยวิธีการหลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์สามารถทำได้ดังนี้ คือ รับประทานอาหารที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเดิมๆ เพื่อลดการสะสมสารพิษในร่างกาย อาจมีการล้างเนื้อสัตว์ก่อนการปรุงอาหาร เพื่อเป็นการลดปริมาณหรือขจัดสารบอแรกซ์ออกไป การตรวจสารบอแรกซ์ในอาหารโดยการเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก และใช้กระดาษขมิ้นในการจุ่มตรวจ หากเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีแดง แสดงว่ามีการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์
  • สารฟอร์มาลิน (Formalin) คือสารละลายที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นยับ โดยปกติมักใช้ในทางการแพทย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา เป็นน้ำยาสำหรับดองศพ
    แต่พบว่ามีบางกรณีที่นำสารฟอร์มาลินมาผสมในอาหารเพื่อคงความสดของอาหาร ทำให้ไม่เน่าเสียง่าย และเก็บรักษาได้นาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดเนื่องจากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 พ.ศ.2536 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดิไฮด์หรือฟอร์มาลิน  เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร และมีโทษทางกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม

สรุป

  จากบทความทั้งหมด คุณน่าจะได้เห็นแล้วว่า food additive นั้นมีประโยชน์มาก ถ้ามีการใช้อย่างเหมาะสม สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารให้ดีเหมาะกับการขายในเชิงอุตสาหกรรม และช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และลดของเสีย แต่ถ้าใช้อย่างผิดๆ จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้ในบทความได้มีข้อกฏหมายต่างๆ จากทาง อย เพื่อให้มีการใช้สารเคมีเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง

  อีกประการ คุณจะเห็นได้ว่า การนำเข้าสารเคมีแต่ละตัว หรือ ใช้สารเคมีที่เป็นวัตถุเจือปนอาหารแต่ละตัวนั้น ขึ้นกับข้อกฏหมายหลายข้อ และต้องมีเอกสารประกอบมากมาย บริษัททินกรขายสารเคมีในอาหารมาอย่างยาวนาน สำหรับสารเคมีที่ซื้อจากบริษัทของเรา เราสามารถช่วยคุณได้ในเรื่องเอกสารต่างๆ สำหรับขึ้นทะเบียน อย และผู้เชี่ยวชาญของเราสามารถแนะนำวิธีการใช้งานที่ถูกต้องแก่คุณได้

  • Related products : 
Related articles