@tinnakorn

การเลือกเสริมแคลเซียม(calcium) ในผลิตภัณฑ์

หน้าแรก / บทความ / การเลือกเสริมแคลเซียม(calcium) ในผลิตภัณฑ์

Calcium Citrate

  แคลเซียม(calcium) ถือเป็นแร่ธาตุหลักที่สำคัญต่อร่างกาย เพื่อที่จะสร้างและบำรุงความแข็งแรงของกระดูกและการสื่อสารระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย นอกเหนือจากนี้ แคลเซียมยังกำกับการหดตัวของกล้ามเนื้อรวมถึงการตื่นของกล้ามเนื้อหัวใจและเป็น Co-factor(ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Enzyme) สำหรับ Enzyme ต่างๆหลายชนิด

  ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารและอาหารเสริมต่างๆ จึงมีการเติบสาร calcium เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ทั้งนี้ควรมรู้ในการเลือกวัตถุดิบที่เป็นแคลเซียมให้ถูกต้องกับสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งวันนี้เราจะกล่าวถึงความแตกต่างของ orgain calcium และ inorganic calcium โดยเฉพาะ calcium citrate



ปริมาณการใช้ Calcium ที่แนะนำในแต่ละวัน

Calcium Citrate - แนะนำปริมาณ calcium ในแต่ละช่วงวัย

แผนภาพแสดงปริมาณ Calcium ที่ควรได้รับในกลุ่มคนประเภทต่างๆ


  แคลเซียมเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูกมนุษย์จนถึงช่วงอายุ 20 – 25 ปี ซึ่งความหนาแน่นของมวลกระดูกมีค่าสูงที่สุด หลังจากช่วงอายุนี้ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะเริ่มถดถอย แต่แคลเซียมสามารถบำรุงและชะลอการสูญเสียมวลของกระดูก ซึ่งเป็นวิธีการโดยธรรมชาติ ผู้ที่ได้รับแคลเซียมต่ำกว่าที่ควรในช่วงอายุก่อน 20 – 25 เสี่ยงจะเกิดโรคกระดูกเปราะหรือกระดูกพรุนได้ในภายหลัง เนื่องด้วยเหตุที่ว่าแคลเซียมนั้นได้ถูกดึงจากกระดูกไปเรื่อยๆเพื่อใช้เป็น Co-factor ของเอนไซม์ต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้น



ปัจจัยในการเลือกแคลเซียมจากต่างแหล่ง

  เนื่องจาก Calcium สามารถผลิตได้จากหลายแหล่งที่มา และอยู่ในรูปองค์ประกอบเคมีที่แตกต่างกัน สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาคือ

  • Bioavailability (ค่าการดูดซึมเข้าร่างกาย) : ถ้าสารสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย ก็จะถูกขับถ่ายออกมาหมด ทำให้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เช่น Calcium Carbonate ซึ่งสามารถดูดซึมได้ค่อนข้างต่ำแต่มีราคาถูก
  • Calcium content (ปริมาณแคลเซียมสุทธิ) : ปริมาณแคลเซียมที่ได้จากวัตถุดิบเช่น calcium citrate จะมีปริมาณ calcium 21% ที่เหลือเป็น citrate อีก 79%
  • Solubility (ค่าการละลาย) : ถ้าสารแคลเซียมที่เราใส่ลงไปไม่ละลายน้ำ จะทำให้เกิดความขุ่ม หรือการตกตะกอน ทั้งนี้บางสารแม้ว่าจะไม่ละลายน้ำ แต่ก็อาจจะอยู่ในสภาพแขวงลอยก็ได้ เช่น calcium citrate ไม่ละลายน้ำ แต่เราสามารถเลือกอนุภาคที่มีขนาดเล็ก เช่น calcium citrate M-2 จะสามารถแขวงลอยในนมได้ โดยไม่ตกตะกอน
  • Organoleptic Characteristics (ลักษณะรสสัมผัส รูป รส กลิ่น สัมผัส) : บางครั้งแคลเซียมในบางรูปที่เราใส่ลงไปจะทำให้เกิดรสชาติที่ไม่พึงประสงค์แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิต จึงต้องเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
  • Interaction with other ingredients (ปฏิกิริยาต่อวัตถุดิบอื่นๆ) : เราต้องป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่นๆ ซึ่งอาจะทำให้การดูดซึมแย่ลง หรือทำให้สารอื่นมีคุณภาพเปลี่ยนแปลงไป


Organic source vs Inorganic source

  จากการวิจัยจะพบว่าค่าการดูดซึมร่างกายของสารที่มีรูปแบบตามธรรมชาติ (Organic salts) อันได้แก่ calcium citrate, calcium gluconate, และ calcium lactate มีค่าค่าดูดซึมมากกว่า inorganic salts เช่น calcium cabonate อย่างเช่นได้ชัด

  ทั้งนี้ calcium carbonate ควรได้รับการรับประทานพร้อมกับอาหารเนื่องจากต้องอาศัยกรดในกระเพาะ เพื่อช่วยย่อยสลายและดูดซึม calcium ข้อเสียอีกประการคือ calcium cabonate นั้นจะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ แต่ calcium citrate ไม่ทำให้เกิดอาหารท้องผูก



เปรียบเทียบ Calcium organic source

Calcium Citrate - เปรียบเทียบ calcium ในรูปแบบต่างๆ

ตารางเปรียบเทียบ Calcium ในรูป Citrates, Gluconates และ Lactates


Calcium Carbonate VS Calcium Citrate

  เมื่อเปรียบเทียบ calcium citrate, calcium gluconate และ calcium lactate จากตารางจะเห็นได้ว่า Calcium ที่อยู่ในรูป Calcium Citrate นั้นดีกว่าทั้งในเรื่อง Calcium content และรสชาติ



Calcium ในรูปแบบต่างๆ

Tricalcium phosphate

คุณสมบัติของ Tricalcium phosphate

ตารางแสดง Characteristic ของ Tricalcium phosphate

  Tri Calcium Phosphate เป็น inorganic calcium แม้ว่าจะมีค่า bioavailability ต่ำกว่า calcium citrate แต่มีราคาที่ถูกและปริมาณ Calcium content ที่สูง โดยมีคุณสมบัติที่ดีกว่า calcium carbonate ซึ่งสำหรับบริษัท Gadot มี technology ช่วยให้ไม่มีผลกระทบต่อรสชาติ โดยเฉพาะ M-3 (micronized grade) จะไม่รู้สึกถึงความสากหรือไม่กระทบต่อรสชาติ

  นอกจากนี้ทางบริษัท Gadot ยังมีการปรับปริมาณ phosphate ได้ร่างกายสามารถนำไปใช้ในรูปของ phosphorus ได้ตามที่กำหนดใน RDI (recommended dairy intake) ทำให้ได้สารอาหารเพิ่มเติมในอีกทางหนึ่งด้วย

  Tri Calcium Phosphate เป็นที่นิยมใช้กับ อาหารและเครื่องดื่มเช่น ชีส นม น้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง และโยเกิร์ต



Tricalcium Citrate

  Tricalcium Citrate นั้นได้มาจาก Organic source ที่มีค่าการดูดซึมต่อร่างกายและปริมาณแคลเซียมสูง (โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ Inorganic source เช่น Cabonate หรือ Phosphate ซึ่ง Calcium ของ Gadot นั้นมี base เป็น Citrate ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกับระบบต่างๆในร่างกายของเรา และเป็นแร่ธาตุ organic ที่เหมาะสม เป็นพาหะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ในปริมาณที่มากที่สุด สำหรับบริษัททินกร เรามีสินค้า Tricalcium citrate 2 เกรดให้เลือกใช้

  • Tricalcium citate tetrahydrate High density : เน้นใช้ในสินค้าตอกเม็ดและสินค้าทั่วๆไป
  • Tricalcium citrate tetrahydrate M-2 (micronized) : เน้นใช้ในเครื่องดื่ม เช่น นม น้ำผลไม้ ซึ่งจะไม่ตกตะกอน


Calcium citrate’ s other advantage

  • ไม่ทำให้เกิด โรคนิ่วในไต ที่เกิดจากการสะสมของแคลเซียม
  • สามารถทานได้ทุกเวลา ไม่ต้องกังวล เวลาการทานเหมือน Calcium รูปอื่นๆ
  • ไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
  • มีการใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริมที่เน้นเรื่องการดูดซึม

สรุป

   ธาตุแคลเซียมเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยสูงอายุ ในยุคปัจจุบันที่มีปริมาณผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความจำเป็นของการเสริมธาตุแคลเซียมในอาหารนั้น เป็นที่จำเป็นมากขึ้นไป เราต้องพิจารณาเลือก calcium ที่เหมาะสมกลุ่มเป้าหมายของเรา ทั้งเรื่องการดูดซึม การส่งผลต่อระบบขับถ่าย วิธีการบริโภค และระดับราคา ซึ่งหวังว่าบทความนี้จะสามารถตอบคำถามดังกล่าวให้กับท่านผู้อ่านได้ ทั้งนี้ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามที่บริษัทเราได้ทั้งทางโทรศัพท์และไลน์ เรายินดีช่วยเหลือท่านให้สามารถผลิตสินค้าที่ดี ตรงกับเป้าหมาย และเป็นประโยชน์ต่อผู้คน

Related articles