@tinnakorn

Textiles

หน้าแรก / Performance Chemicals / Textiles /

Silicone (ซิลิโคน) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ (textile)

  ซิลิโคน เป็นวัสดุยอดนิยมที่นำมาผลิตเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย มีทั้งในรูปของ ของเหลว และของแข็ง โดยที่มวลโมเลกุลต่ำๆ ซิลิโคนจะมีคุณสมบัติเป็นของเหลว และเมื่อมวลโมเลกุลสูงขึ้นจะมีความหนืดสูงขึ้น  หรือมีสภาพเป็นของแข็ง ซิลิโคนสามารถทนความร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี รวมถึงยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า และไม่ทำปฏิกิริยาต่อสารเคมีอื่นๆ เมื่อเป็นของแข็งยังมีคุณสมบัติที่แข็งแรงยืดหยุ่นอีกด้วย ทำให้สามารถเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของงานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม  การแพทย์ เครื่องใช้ประจำวัน หรือผสมกับสารต่างๆ เพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณสมบัติของผ้า


  ในทางเคมี ซิลิโคนคือพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น ประกอบด้วยสารอนินทรีย์สำคัญ คือ ซิลิคอน (Si) ที่ได้จากการสังเคราะห์ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เมทิลซิลิโคน หรือ โพลิไดเมทิลไซลอกเซน ซึ่งมีธาตุออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบร่วมในโมเลกุล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย บริษัท Wacker สามารถเพิ่มโมเลกุลของสารต่างๆลงไปในซิลิโคน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทั้งทางเคมีและทางกล ทำให้มีความสามารถที่หลากหลายเฉพาะตัว และเหมาะกับการทำงานในรูปแบบต่างๆ


ประโยชน์ของ Silicone (ซิลิโคน) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

  ซิลิโคน มีประโยชน์ในสิ่งทอสามารถใช้ทำให้ผ้ามีความนุ่ม สามารถใช้ได้ทั้งผ้าเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าไนล่อน ผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าอไครลิก กับผ้าเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน ผ้าขนสัตว์ และเส้นใยกิ่งสังเคราะห์ เช่นเส้นใยเรยอน(เป็นเส้นใยที่นำเซลลูโลสธรรมชาติมาผ่านขบวนการสังเคราะห์) นอกจากทำให้ผ้านิ่มแล้วซิลิโคนยังสามารถ เป็นสารลดฟองที่สามารถใช้ในขบวนการฟอกผ้า ย้อมผ้า พิมพ์ผ้า ตกแต่งผ้า และ บำบัดน้ำเสีย ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตซิลิโคนที่มีคุณสมบัติพิเศษมากมายที่เหมาะสมกับสิ่งทอเช่น ซิลิโคนรับเบอร์ ที่สามารถนำมาพิมพ์บนผ้าใยสังเคราะห์ เพื่อทดแทน PVC ที่เป็นพิษกับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ซิลิโคนยังมีประโยชน์ในด้านปรับปรุงผ้าเส้นใยสังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติดูดซึมความชื้นได้ทำสวมใส่สบายเหมือนใส่ผ้าเส้นใยธรรมชาติ


ประเภทของ Silicone (ซิลิโคน) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

Siliconeในสิ่งทอสามารถแบ่งตามการใช้งานได้ 3 ประเภทหลักๆที่มีใช้ในประเทศไทย

  • Silicone deformer เป็นซิลิโคนใช้สำหรับลดฟองที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิตผ้าและกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
  • Silicone softeners เป็นซิลิโคนที่ใช้สำหรับทำให้ผ้านิ่มใช้ทุกเส้นใยแยกย่อยอออกเป็น 2 ชนิดคือ
    • ซิลิโคนไม่ซึมน้ำ
    • ซิลิโคนซึมน้ำ
  • Silicone rubber เป็นซิลิโคนใช้สำหรับการพิมพ์บนผ้า

ทางบริษัททินกร ยังมี silicone สำหรับใช้งานประเภทอื่นๆ ซึ่งจำเพาะสำหรับการใช้งานของลูกค้า สามารถติดต่อสอบถามได้


การเลือกใช้ Silicone ใน textile

  1. เลือกจุดประสงค์ในการใช้
  2. ตรวจสอบชนิดของผ้า
  3. ตรวจสอบกระบวนการผลิต และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
  4. เลือกซิลิโคนที่เหมาะสม

Silicone สำหรับ softener

  สำหรับการปรับผ้าให้นุ่มด้วยซิลิโคนมีข้อดีคือ ใช้เพียงปริมาณน้อยแต่ให้ความนุ่มลื่นมาก มีความคงทนต่อการซักมากกว่าน้ำยาปรับผ้านุ่มชนิดอื่น  และยังให้ความนุ่มพร้อมทั้งคุณสมบัติสวมใส่สบาย  ในส่วนซิลิโคนก็มีข้อเสียถ้าเลือกใช้ไม่ถูถวิธีหรือเลือกผิดชนิดเมือนำไปใช้งานอาจทำให้เกิด Silicone spot เปื้อนบนผ้าทำให้ผ้าชิ้นเสียหายได้และขจัดออกยากด้วย


Silicone สำหรับ printing

  ปกติการพิมพ์ผ้าจะนิยมพิมพ์ด้วยสาร PVC   ซึ่งในปัจจุบันมีการแบนเพราะเป็นสารที่เป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการพัฒนาซิลิโคนรับเบอร์มาทดแทนซึ่งเป็นสารที่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งาน


Silicone จากบริษัท Wacker

  บริษัท Wacker ประเทศเยอรมัน มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นผู้ผลิตซิลิโคนที่ใหญ่ติด 1ใน3ของโลก เป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดและเป็นผู้ที่ผลิตที่มีความสม่ำเสมอในด้านคุณภาพ ทำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่นำไปใช้ในการผลิต

  ด้วยความที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ทำให้เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ผ่านมาตรฐานระดับโลกเช่น ZDHC,  OEKO-TEX100 SVHC, REACH,  Etc.


  บริษัททินกรเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท Wacker ทางทินกรสามารถให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าจาก Wacker  และมีสินค้าส่งมอบให้ลูกค้าไม่มีขาดสต๊อก และด้วยประสบการณ์ขายมากกว่า 20 ปีเราสามารถให้บริการปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาของลูกค้า และ สามารถส่งสินค้าไปตรวจสอบในแลปที่ทันสมัยที่ประเทศสิงคโปร์ได้


website: WACER’s textiles, leather & fibers

Polyurethane (PU ) System (โพลียูรีเทน)

Polyurethane (โพลียูรีเทน) คืออะไร

  โพลียูรีเทน (Polyurethane) หรือที่นิยมใช้ในตัวย่อว่า PU คือ สารโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยชีวเคมีระหว่างการเชื่อมต่อของยูรีเทนและโพลิเมอร์ของโพลียูรีเทน โดยมีการประกอบกันขึ้นมาจากมอนอเมอร์เป็นอย่างน้อย 2 ชนิด โดยทั่วไปโพลียูรีเทนผลิตจากปฏิกิริยาของโพลีออลกับไดไอโซไซยาเนตหรือโพลีเมอริก ไอโซไซยาเนต โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวและขึ้นรูปใหม่ได้ สำหรับวัสดุที่โพลียูรีเทนเป็นส่วนประกอบนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะโดดเด่นของคุณสมบัติ อันได้แก่ ความเหนียว ความแข็งและความหนาแน่น



ประเภทของสินค้าที่ผลิตจากPolyurethane (โพลียูรีเทน)

  • โฟมอ่อน (Flexible foam) ความหนาแน่นต่ำ สามารถให้ตัวได้ สามารถคืนกลับสภาพเดิมได้เมื่อเกิดแรงกดทับ หรือกระทำให้ผิดรูปร่าง ทั่วไปนิยมใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ เบาะรองนั่ง เก้าอี้นวม ที่นอน เบาะรถยนต์ เบาะมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น
  • โฟมแข็ง (Rigid foam) ความหนาแน่นต่ำ มีค่าความเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี มักจะนำมาใช้ทำเป็นฉนวนสำหรับรถยนต์ ผนัง หลังคา ไม้เทียม ไม้บัว ฯ
  • อีลาสโตเมอร์อ่อน มักจะนำมาใช้ในพวกแผ่นยาง ลูกกลิ้งในอุตสาหกรรม ล้อยาง ฯ
  • พลาสติกแข็ง มักจะนำมาใช้ในการทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

  นอกจากนี้ โพลียูรีเทนก็ยังสามารถนำมาใช้ในการเคลือบสีเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้อีกด้วย เพราะสามารถทนต่อสารเคมีและการขูดขีดได้ดี จึงช่วยปกป้องไม่ให้เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นรอยได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังคงความสวยงามในตลอดการใช้งาน เรียกว่าเป็นตัวช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้เฟอร์นิเจอร์ไม้ได้เป็นอย่างดี



ข้อดีและข้อเสียของโพลียูรีเทน

  ข้อดี: โพลียูรีเทน เป็นโพลีเมอร์ตัวหนึ่งที่สามารถทำให้นิ่ม แข็ง และโฟม ได้ จึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการ


  ข้อเสีย: โพลียูรีเทนติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก และเมื่อไหม้แล้วจะให้ความร้อน และควันหนาแน่นมาก ที่สำคัญคือให้ก๊าซพิษออกมาด้วยได้แก่ ไดออกซิน ไอโซไซยาไนด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น



สินค้าของบริษัททินกร

  บริษัททินกรฯ เป็นตัวแทนจำหน่าย PU Flexible foam สำหรับงานพื้นรองเท้า เบาะรถยนต์ เบาะมอเตอร์ไซค์ และที่นอน โดยแบ่งเป็น

  1. Polyether polyol สำหรับงานที่นอน เบาะรถยนต์ เบาะมอเตอร์ไซค์
  2. PU Polyester system สำหรับงานพื้นรองเท้า มี 2 ประเภท
    • พื้นรองเท้าที่มีน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย ราคาเหมาะสม
    • งานSOCK ให้ความรู้สึกนุ่ม เบา มีการให้ตัวที่ดี

  บริษัทของเราให้บริการและจัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโพลียูรีเทนมากกว่า 10 ปี ถ้าท่านสนใจให้เราแนะนำสินค้าที่เหมาะสมในการผลิตและแก้ไขปัญหาในการผลิตของท่าน โปรดติดต่อเรา

Release agent น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ในอุตสาหกรรมรองเท้า และอุตสาหกรรมยานยนต์

Release agent หรือเรียกว่า น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ ใช้ปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ โดยพ่นลงบนหน้าแม่พิมพ์ก่อนการขึ้นรูป เพื่อให้การปลดชิ้นงานทำได้ง่ายขึ้น ไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหาย เช่น

  • Polyurethane(PU) สำหรับเบาะรถยนต์, เบาะรถจักรยานยนต์, เบาะเฟอร์นิเจอร์, พื้นรองเท้า
  • Rubber สำหรับพื้นรองเท้า
  • EVA สำหรับพื้นรองเท้า

ประเภทของ release agent (น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์)

สินค้าที่มีจำหน่ายหลักๆแบ่งออกตามประเภทของตัวกลางได้ 2 ประเภท คือ

  1. Solvent based น้ำยาถอดแบบสูตรโซลเว้นท์ ที่สามารถผสมโซลเว้นท์ได้ในอัตราส่วน มากกว่า 1:20 มีประสิทธิภาพสูงสุดกับชิ้นงานที่มีลวดลายที่ซับซ้อน เน้นแสดงพื้นผิวภายนอก ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาสวยงาม ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ
  2. Water based น้ำยาถอดแบบสูตรน้ำ ที่สามารถผสมน้ำได้ในอัตราส่วน มากกว่า 1:30 สำหรับชิ้นงานที่ต้องการผิวเรียบสูง ไม่มีลวดลายที่ซับซ้อนมาก เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้งานได้ง่าย

การดูประสิทธิภาพของ release agent (น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์)

Release agent ที่ดี ต้องทำให้การปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ทำได้ง่าย ชิ้นงานไม่เกิดความเสียหาย เช่น เกิดคราบ เกิดรอยด่าง หรือชิ้นงานเกิดริ้วรอยฉีกขาด เป็นต้น ซึ่งเมื่อปัญหาการปลดชิ้นงานหายไป ก็จะทำให้ก่อเกิดประโยชน์ด้านอื่นๆตามมา คือ

  • ลดระยะเวลาการทำงาน
  • ลดต้นทุนการผลิต
  • เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

การเลือก release agent (น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์)

การเลือก release agent ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ คือ

  1. ประเภทของชิ้นงาน หรือขึ้นกับลักษณะของวัถตุดิบ เช่น PU สำหรับทำเบาะรถยนต์, เบาะเฟอร์นิเจอร์, พื้นรองเท้า PU, Rubber, EVA เป็นต้น
  2. อุณหภูมิในการขึ้นรูป ตัวกลางของ release agent ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการขึ้นรูป ในช่วงอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานโดยตรง
  3. ความยากง่ายหรือลวดลายของชิ้นงาน ชิ้นงานที่มีความซับซ้อน หรือลวดลายมาก ต้องใช้ Release agent ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าชิ้นงานที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า
  4. ความมันเงาของพื้นผิว Release agent แต่ละตัวมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้ลักษณะของผิวชิ้นงานแตกต่างกันไปด้วย

Release agent ในรองเท้า

Release agent สำหรับรองเท้านั้นมีความสำคัญไม่แพ้กับชิ้นงานประเภทอื่นๆ เนื่องจากรองเท้านั้นต้องมีการโชว์พื้นผิวของชิ้นงาน เป็นลวดลายที่สวยงาม ทันสมัยซึ่งเปลี่ยนไปตามแฟชั่นในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งจะทำให้สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ชิ้นงานที่ขึ้นรูปและปลดออกจากแม่พิมพ์ ต้องมีคุณภาพที่ดี ไม่เกิดความเสียหายต่อตัวชิ้นงาน รวมทั้งพื้นผิวชิ้นงานด้วย ทำให้การทำงานในขั้นตอนถัดไป ไม่ว่าจะเป็นการลงสี การประกอบ เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ช่วยลดระยะเวลาทำงาน และลดต้นทุนการผลิต


Release agent ในเบาะรถยนต์

Release agent สำหรับเบาะรถยนต์ นั้นมีความสำคัญมากๆ ถึงแม่ว่าจะไม่ได้โชว์พื้นผิวชิ้นงาน แต่เนื่องจากมาตรฐานที่เคร่งครัดสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ จึงส่งผลให้สินค้าในกลุ่ม Release agent ต้องมีมาตรฐานที่ผ่าน สำหรับการผลิตด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่าเบาะรถยนต์นั้นเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่ และต้องการความสม่ำเสมอของพื้นผิว จึงจำเป็นต้องใช้ Release agent คุณภาพสูง เพื่อให้การปลดชิ้นงานออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชิ้นงาน เพราะอย่าลืมว่าผู้ใช้งานนั้นต้องมีความรู้สึกถึงการใช้งาน เนื่องจากต้องสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง ด้วยเหตุนี้ การเลือก Release agent สำหรับเบาะรถยนต์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง


บริษัททินกรฯ เป็นตัวแทนจำหน่าย Release agent จากประเทศอิตาลี ภายใต้แบรนด์ Marbo ซึ่งเป็นผู้นำนวัตรกรรมทางด้านการผลิต release agent หลากหลายประเภท มีการผลิตและจำหน่ายน้ำยาถอดแม่พิมพ์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก นอกจากนี้บริษัททินกรฯ ยังมีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ที่พร้อมจะให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า สามารถติดต่อสอบถามได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Marbo Italia : http://www.marboitalia.it/

Liquid Silicone Rubber (ยางซิลิโคนเหลว)

  ยางซิลิโคนในรูปของของเหลว(LSR) ที่มีความหนืดสูงเริ่มนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกันอย่างแพร่หลายมากว่า 40 ปี ได้กลายเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการผลิตชิ้นส่วนยาง สามารถขึ้นรูปงานที่มีความละเอียดได้ง่าย คุณภาพของชิ้นงานมีความสม่ำเสมอ คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์คือมีความต้านทานต่ออุณหภูมิสูง/ต่ำ มีความทนทานต่อแรงดึง มีความยืดหยุ่นที่ดี เป็นฉนวนที่ดีเยี่ยม และมีความโปร่งใส่


 ปัจจุบันทางบริษัทฯเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในเมืองไทยของบริษัท WACKER ผู้ผลิตจากประเทศเยอรมัน ในสินค้าประเภท Liquid silicone rubber หรือ ยางซิลิโคนเหลว เราได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตในประเทศ เนื่องจากสินค้ามีมาตรฐานระดับโลก มีหลายเกรด ตามความต้องการใช้งาน เช่น การทนความฉีกขาด Low volatile และค่าความแข็งที่หลากหลาย เช่น 20, 30, 40 Shore A เป็นต้น


 สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เช่น

  • Baby nipple (จุกนมเด็ก) 
  • Silk screen printing (การพิมพ์แบบ silk screen)  
  • Electrical part (ชิ้นส่วนอิเลคโทรนิค)  
  • Seal (ชิ้นส่วนกันซึม)
  • medical tube (สายยางทางการแพทย์) 

website: Wacker’s Liquid Silicone Rubber for injection moulding

Construction (ก่อสร้างและอาคาร)

Cement Grinding Additives คือ สารตัวเติมที่ช่วยไม่ให้ซิเมนต์จับตัวกันระหว่างกระบวนการบด และช่วยปรับปรุงคุณภาพของปูนซิเมนต์ โดยบริษัทเราเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากประเทศอิตาลี ภายใต้แบรนด์ MAPEI ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรงมายาวนานมากกว่า 80 ปี ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าไปกว่า 70 ประเทศทั่วโลก และยังเป็นที่ปรึกษา พร้อมให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่มีอย่างเป็นประโยชน์กับลูกค้า

สำหรับหน้าที่หลักของ Cement Grinding Additives คือ ช่วยกำจัดปรากฏการณ์การอัดแน่นของอนุภาคซิเมนต์และลดการเคลือบผิวของซิเมนต์กับหม้อบด ซึ่งทำให้กระบวนการบดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้คุณภาพซิเมนต์ดีขึ้น และยังส่งผลให้ Operating cost ต่ำลงไปด้วย

Cement Grinding Additives ช่วยปรับปรุงคุณภาพของซิเมนต์ และแน่นอนว่าเมื่อมีการผสมระหว่างซิเมนต์ที่ดี มีคุณภาพ กับ Concrete admixture จะกลายเป็นวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้สำหรับการเตรียมคอนกรีตที่มีความทนทานเพื่อการใช้งานที่ดีและยั่งยืน

สินค้าของ MAPEI แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.            MAPEI Grinding Aids คือ สารสำหรับช่วยบดโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มผลผลิตซิเมนต์มากยิ่งขึ้น

2.            MAPEI Performance Enhancers คือ สารสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพของซิเมนต์ เช่น เพิ่มความแข็งแรง, ลดระยะเวลาก่อตัว, ลด Cr(IV)เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี, เพิ่มอัตราการไหลเพื่อให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น เป็นต้น