@tinnakorn

Acesulfame K (แอซีซัลเฟม เค ) ประโยชน์ ข้อระวัง และตัวอย่างการใช้ในอุตสาหกรรม

หน้าแรก / บทความ / Acesulfame K (แอซีซัลเฟม เค ) ประโยชน์ ข้อระวัง และตัวอย่างการใช้ในอุตสาหกรรม

acesulfame-k-acesulfame-potassium
acesulfame-k-acesulfame-potassium
acesulfame-k-acesulfame-potassium

   Acesulfame K (Acesulfame Potassium) (แอซีซัลเฟม เค หรือ แอซีซัลเฟม โพแทสเซียม) คือวัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Alternative sweetener) แบบความความหวานสูง ชนิดหนึ่งที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการหรือไม่ให้พลังงาน มีการใช้อย่างยาวนานตั้งแต่อดีต จัดเป็นสารแทนความหวานที่นิยมอย่างมาก จึงเป็นที่คุณเคยของ R&D และผู้บริโภค อีกทั้งราคาเมื่อเทียบกับน้ำตาลยังจัดว่าถูกกว่า ทำให้สามารถลดค่าวัตถุดิบลงได้


   เนื่องด้วยปัจจุบันผู้บริโภคกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ อาทิเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ประกอบกับเรื่องของภาษีน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ส่งผลให้ทางผู้ประกอบการเปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลมาเป็น Acesulfame-K ร่วมกับการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอื่นๆ แทน เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น 


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Acesulfame K

   Acesulfame K อาจรู้จักในชื่อของ E number E950 โดย  Acesulfame-K มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีสูตรโมเลกุล C4H4KNO4S และมีมวลโมเลกุล คือ 201.24 g/mol ในปี ค.ศ. 1998 U.S. Food and Drug Administration (FDA) และองค์กรเกี่ยวกับสุขภาพหลายองค์กรยืนยันว่า Acesulfame-K มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีงานวิจัยมากกว่า 90 ประเทศ พิสูจน์ได้ผลเช่นเดียวกัน ดังนั้น  Acesulfame-K จึงถูกนำมาใช้ในเครื่องดื่มและอาหารกว่า 4,000 ชนิด ใน 90 ประเทศทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีนำ Acesulfame-K มาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแทนการใช้น้ำตาล



ประโยชน์ของ Acesulfame K

   Acesulfame K คือวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้แทนน้ำตาล ซึ่งไม่ถูกเมแทบอลิซึมหรือเกิดการสะสมในร่างกาย เนื่องจากหลังจากบริโภค Acesulfame K แล้ว จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว และถูกกำจัดออกในรูปเดิม การใช้ Acesulfame K ในคนยังไม่พบอันตรายใดๆ และไม่พบการเกิดโรคมะเร็งในคนจากการบริโภค Acesulfame K จากข้อสรุปขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา โดยสรุปจากข้อมูลที่มีการทดลองทั้งในคนและสัตว์ทดลองมากกว่า 90 การศึกษา ซึ่งปริมาณที่ใช้ Acesulfame K ในการทดลองส่วนใหญ่จะใช้ในขนาดสูงกว่าขนาดปกติที่รับประทานในคน นอกจากนี้สามารถใช้ Acesulfame K ได้ในสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วย phenylketonuria ได้


ข้อควรระวังในการใช้ Acesulfame K

   การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียมเพียงอย่างเดียวนั้น อาจไม่สามารถลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ แต่ผู้ป่วยต้องลดการบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง เช่น ขนมปังและข้าว และต้องลดการบริโภคไขมันจากน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร และอาหารที่มีไขมันสูงร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นอาจส่งผลให้การรับรสต่างไปจากการใช้น้ำตาล เนื่องจากสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นมีความหวานมากกว่าน้ำตาลหลายเท่า จึงควรใช้ในปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อยปรับเพิ่มปริมาณการใช้จนกว่าจะได้รสชาติที่ต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงรสหวานจัดที่มากเกินไป หรือรสขมติดลิ้นเมื่อใช้น้ำตาลเทียมในปริมาณมาก ดังนั้นการใช้สารให้ความแทนน้ำตาลเทียมได้อย่างปลอดภัยนั้น ไม่ควรเกินค่า Acceptable Daily Intake (ADI) ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดต่อวันที่ยอมรับว่าใช้ได้อย่างงปลอดภัยในคน


   สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลถือเป็นประโยชน์ในผู้สูงอายุ และสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยหากบริโภคไม่เกินค่า ADI ที่กำหนดไว้ ในส่วนของการใช้สารให้ความแทนน้ำตาลในเด็กนั้น พบว่าสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยเช่นเดียวกันหากไม่เกินค่า ADI อย่างไรก็ตามผู้ปกครองไม่ควรใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลในการประกอบอาหารและเครื่องดื่มให้เด็กบริโภคเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากยังไม่มีการศึกษามากนักเกี่ยวกับการใช้น้ำตาลเทียมในเด็ก จึงไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ชัดเจนของการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียมในเด็ก      


จำนวน Acesulfame K ที่อนุญาตใช้ในอาหาร

ในสหรัฐอเมริกา

U.S.FDA ได้กำหนดค่า ADI ของ Acesulfame K เท่ากับ 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (1 กิโลกรัม) ของผู้บริโภคต่อวัน (ประมาณ 23 ซอง)


ใน EU

Scientific Committee on Food (SCF) ได้ประกาศ Acceptable Daily Intake (ADI) สำหรับ acesulfame potassium เป็น 9 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (1 กิโลกรัม) ของผู้บริโภคต่อวัน


ในไทย

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 เรื่อง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)

รหัสอาหารหมวดอาหารปริมาณสูงสุดที่อนุญาต (มก./กก.)
01.1.4เครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนประกอบหลัก (ปรุงแต่ง)350
01.3.2ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เติมในเครื่องดื่ม2000
01.4.4ผลิตภัณฑ์เลียนแบบครีม1000
01.5.2ผลิตภัณฑ์เลียนแบบนมผงและผลิตภัณฑ์เลียนแบบครีมผง1000
01.6.5ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็ง350
1.7ขนมหวานที่มีนมเป็นส่วนประกอบหลัก350
2.3ผลิตภัณฑ์อิมัลชันประเภทน้ำมันในน้ำ1000
2.4ขนมหวานที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก350
3ไอศกรีมหวานเย็น800
04.1.2.1ผลไม้แช่เยือกแข็ง500
04.1.2.2ผลไม้แห้ง500
04.1.2.3ผลไม้ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน หรือน้ำเกลือ200
04.1.2.4ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง350
04.1.2.6ผลิตภัณฑ์ที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบหลักเพื่อใช้สำหรับทาหรือป้ายหรือเป็นวัตถุดิบ1000
04.1.2.7ผลไม้แช่อิ่ม เชื่อม หรือเคลือบด้วยน้ำตาล500
04.1.2.8ผลไม้แปรูปอื่น ซึ่งรวมถึงผลไม้บด น้ำเชื่อมผลไม้ กะทิและมันกะทิ350
04.1.2.9ขนมหวานที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก350
04.1.2.10ผลไม้หมักดอง350
04.1.2.11ไส้ขนมที่ทำจากผลไม้350
04.1.2.12ผลไม้ปรุงสุก500
04.2.2.3ผัก สาหร่ายทะเล ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน น้ำเกลือ หรือซอสถั่วเหลือง200
04.2.2.4ผัก สาหร่ายทะเล ที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง350
04.2.2.5ผัก สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด ที่บดละเอียดและสำหรับใช้ทาหรือป้าย1000
04.2.2.6ผัก สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด ที่บดและเพื่อใช้ประกอบอาหาร350
04.2.2.7ผัก สาหร่ายทะเล ดอง1000
05.1.1โกโก้ผง โกโก้แมส หรือโกโก้เค้ก350
05.1.2โกโก้ไซรัป350
05.1.3ผลิตภัณฑ์โกโก้ที่ใช้สำหรับทาหรือป้าย หรือเป็นไส้ขนม หรือเป็นวัตถุดิบ1000
05.1.4ผลิตภัณฑ์โกโก้ และผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต500
05.1.5ผลิตภัณฑ์เลียนแบบช็อกโกแลต500
05.2.1ลูกกวาดชนิดแข็ง500
05.2.2ลูกกวาดชนิดนุ่ม และขนมหวานอื่นๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ขนมหวานตามหมวด 01.7, 02.4, 04.1.2.9 และ 06.51000
05.2.3นูกัตและมาร์ซิแพน1000
5.3หมากฝรั่ง5000
5.4ผลิตภัณฑ์ใช้เคลือบหรือแต่งหน้าขนม และซอสหวาน500
6.3ผลิตภัณฑ์ธัญชาติสำหรับอาหารเช้า1200
6.5ขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก350
7.1ขนมปังและขนมอบชนิดไม่หวาน และส่วนผสมสำเร็จรูป1000
7.2ขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป1000
9.2สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผ่านกรรมวิธี200
9.3สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผ่านกระบวนการกึ่งถนอมอาหาร200
9.4สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง200
10.4ขนมหวานที่มีไข่เป็นส่วนประกอบหลัก350
11.4น้ำตาลและไซรัปชนิดอื่นที่ใช้ราดหรือแต่งหน้าขนม1000
11.6สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคปริมาณที่เหมาะสม
12.2เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส2000
12.3น้ำส้มสายชูหมัก2000
12.4มัสตาร์ด350
12.5ซุป110
12.6ซอสและผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน1000
12.7สลัด และผลิตภัณฑ์ทาแซนวิช350
13.3อาหารทางการแพทย์500
13.4อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก450
13.5อาหารมีวัตถุประสงค์เฉพาะทางด้านโภชนาการ450
13.6ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร2000
14.1.3.1น้ำผลไม้ชนิดเนคต้า350
14.1.3.2น้ำผักชนิดเนคต้า350
14.1.3.3น้ำผลไม้เนคต้าเข้มข้น350
14.1.3.4น้ำผักเนคต้าเข้มข้น350
14.1.4เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรส425
14.1.5กาแฟ เครื่องดื่มแทนกาแฟ ชา ชามสมุนไพรชนิดชงดื่ม (Herbal infusion) และเครื่องดื่มจากธัญชาติชนิดต่างๆ ไม่รวมโกโก้600
14.2.7เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แต่งกลิ่นรส350
15ขนมขบเคี้ยว350

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ Acesulfame K

   Acesulfame K สามราถทนความร้อนสูงได้ จึงมักถูกใช้ร่วมกับสารให้ความหวานตัวอื่น เช่น แอสพาร์แทม (Aspartame) เพื่อลดรสขม และเสริมฤทธิ์ให้มีความหวานเพิ่มขึ้นด้วย โดยนิยมใช้ใส่ในเครื่องดื่มต่างๆ รวมทั้งน้ำอัดลม เช่น PepsiMax®, Cocacola Zero® Cocacola Light®

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ Acesulfame K ในอาหารต่างๆ ได้แก่

  • ลูกอม ลูกกวาด (candies)
  • tabletop sweeteners
  • หมากฝรั่ง (chewing gums)
  • เครื่องดื่มต่างๆ (beverages)
  • ของหวาน (dessert)
  • dairy product mixes
  • อาหารประเภทของอบ (baked goods)
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic beverages)
  • น้ำเชื่อม (syrups)
  • ของหวานที่แช่แข็งหรือแช่ตู้เย็น (refrigerated and frozen desserts)
  • ซอสรสหวานต่าง ๆ (sweet sauces) และ
  • น้ำตาลสำหรับโรยหน้าขนม (toppings) เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง:

https://s3.amazonaws.com/thai-health/สารให้ความหวาน–น้ำตาลเทียม- artificial-sweetener

https://www.coca-cola.co.th/th/brands/coke

Related articles
erythritol-sweetener

Erythritol (อิริทริทอล) สารให้ความหวานที่ไม่กระทบต่อระดับอินซูลินในเลือด

Erythritol (อิริทริทอล) สารให้ความหวานยอดนิยม ของผู้รักสุขภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับอินซูลินในเลือด

17/12/2020

 14,706

Monk Fruit Sweetener- น้ำตาลหล่อฮังก๊วย

น้ำตาลหล่อฮังก้วย (Monk fruit sweetener)

ปัจจุบันนิยมนำผลหล่อฮังก้วยมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลซึ่งจัดเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติ (Natural Sweeteners) ที่พึ่งจะเริ่มเป็นที่นิยม เรามาทำความเข้าใจกับน้ำตาลหล่อฮังก้วยในแง่มุมต่างๆ

19/11/2020

 45,277

Sucralose-sweetener

Sucralose สารให้ความหวานที่รสชาติคล้ายน้ำตาลที่สุด

เรามาทำความเข้าใจกับ การใช้ Sucralose (ซูคราโลส) เพื่อลดการใช้น้ำตาล และลดต้นทุนของสินค้า เพื่อสุขภาพที่ดี

04/11/2020

 17,850

การใช้งานน้ำตาลฟรุกโตส-fructose-ในอาหาร

การใช้น้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) ในอาหาร

เรามาทำความรู้จักฟรุกโตสเพื่อการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเข้าใจพื้นฐานและการเลือกซื้อวัตถุดิบประเภทฟรุกโตสที่มีขายในเชิงอุตสาหกรรม

16/06/2020

 15,359